สถานที่ท่องเที่ยว

ตลาดน้ำคลองแห Khlonghae Floating Market

1
46996
+8
+8

ตลาดน้ำคลองแห – วัฒนศิลป์ถิ่นใต้ “Khlong Hae Floating Market”

“ตลาดน้ำคลองแห”  ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองคลองแห  อำเภอหาดใหญ่  จังหวัดสงขลา  ความยาวของตลาดประมาณ  ๒๐๐  เมตร  อยู่ริมฝั่งคลองตรงข้ามกับวัดคลองแห

“ตลาดน้ำคลองแห”  เป็นตลาดน้ำเชิงวัฒนธรรมแห่งแรกของภาคใต้  มีลักษณะของตลาดที่ผสมผสานระหว่างตลาดน้ำ  (จำหน่ายสินค้าในเรือ)  และตลาดโบราณ  (จำหน่ายสินค้าทางบก)  มีทั้งพ่อค้า  แม่ค้า  นำอาหารพื้นบ้าน  คาว – หวาน  เป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นและผลผลิตทางเกษตรมาจำหน่าย  ตลาดน้ำคลองแหเปิดบริการทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์  ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐ น.  – นอกจากนี้ได้มีการสำรวจตลาดน้ำคลองแหและชมทัศนียภาพของสองฝั่งคลอง  และพบเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแบบดั้งเดิม  เช่น  การยกบาม  ชาวบ้านพายเรือเก็บผักบุ้ง  ตัดผักกระเฉด  ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังคงมีอยู่ในลำคลองแหในปัจจุบัน  จากการล่องเรือในวันนั้นภาพที่เห็นทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาสายน้ำแห่งนี้ให้เป็นจุดศูนย์กลางของการพบปะของประชาชน  คิดหาวิธีเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงไปสู่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรวมทั้งให้เป็นจุดศูนย์กลางของการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นต่อไป  จึงได้จัดเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งบรรดางานวิจัยที่ได้เคยมีการทำวิจัยในพื้นที่  อีกทั้งสืบค้นข้อมูลประวัติของพื้นที่จึงได้พบว่าในสมัยก่อนที่ตรงนี้เคยเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า  และเป็นแหล่งพบปะเรือสำเภาจากต่างถิ่นซึ่งแล่นมาทำการค้ายังที่แห่งนี้  จึงได้นำเสนอนโยบายสร้าง  “ตลาดน้ำคลองแห”  เป็นจุดขาย อีกทั้งได้จัดศึกษาดูงานโดยนำเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งชาวบ้านผู้ที่ตั้งใจจะค้าขายไปดูงานยังตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา  จังหวัดสมุทรสงคราม  เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน  รูปแบบการบริหารจัดการ  และอื่น ๆ รวมทั้งได้ประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในพื้นที่และจากส่วนกลางทั้งภาครัฐและเอกชน  เช่น

            กรมโยธาธิการและผังเมือง  กรมชลประทาน  การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  เป็นต้น  เพื่อทำการผลักดันโครงการ “ตลาดน้ำคลองแห” ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้โดยในยุคเริ่มต้นของตลาดน้ำนั้นได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเป็นไปไม่ได้ของโครงการนี้  เนื่องจากสภาพลำคลองนั้นแทบจะไม่เอื้อต่อการดำเนินการใดๆ ทั้งตื้นเขินด้วยขยะและโคลนตม  อีกทั้งน้ำที่เน่าเสีย  แต่นั่นกลับเป็นเหมือนแรงผลักดันที่ทำให้คณะผู้บริหารเร่งดำเนินโครงการตามที่ตั้งปณิธานไว้ว่า “ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้หากทำเพื่อประชาชน” มีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนหันกลับมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  อนุรักษ์แม่น้ำลำคลองที่สามารถเป็นแหล่งสร้างงานสร้างอาชีพให้ท้องถิ่นได้  และอีกความตั้งใจหนึ่งก็คือ  “ตลาดน้ำคลองแห”  จะเป็นศูนย์รวมของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม เดิมที  “ตลาดน้ำคลองแห” ได้มีการทดลองเปิดจำหน่ายสินค้าทางน้ำเป็นการเฉพาะกิจในช่วงประเพณีสงกรานต์  และงานศิลปวัฒนธรรมย้อนตำนานคลองแห  ซึ่งการดำเนินการในครั้งนั้นเป็นไปด้วยดีจึงมีการเรียกร้องจากพ่อค้า – แม่ค้าให้  “ตลาดน้ำคลองแห”  เปิดดำเนินการอย่างจริงจังจึงเป็นเหตุให้มีการเปิดดำเนินการเรื่อยมาในทุกเย็นวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์  โดยระยะที่  ๑  มีเรือจำหน่ายสินค้าเริ่มต้น  จำนวน  ๔๐  ลำ  ซึ่งเปิดดำเนินการในระยะที่  ๒  เทศบาลได้มีการจัดรูปแบบใหม่โดยกำหนดให้มีร้านค้าบนบกขึ้นเน้นรูปแบบโบราณโดยการจัดพื้นที่ขายให้มีความเป็นระเบียบสวยงาม  และปัจจุบันมีเรือจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้นเป็น  จำนวน  ๗๗  ลำ  และร้านค้าของตลาดโบราณมีจำนวนมากถึงกว่า  ๒๕๐  ร้าน  เช่น  เถ้าคั่ว  ข

นมจีน  ข้าวยำปักษ์ใต้  ก๋วยจั๊บพลก  (ก๋วยจั๊บกะลา)  ขนมมด  ขนมด้วง  ขนมโค  ขนมปำ  (ขนมถ้วยฟูภาค

ใต้)  ขนมต้มย่าง  ขนมถุงทอง  ขนมบอก  น้ำมะเน็ต  หมี่ผัดกะทิกุ้งสด  ขนมต้มใบพ้อสามเหลี่ยมใส้หมูแดงและใส้ไก่หยอง  กุยฉ่าย  (กุยช่าย)  ตลอดจนพืชผักพื้นบ้านซึ่งท่านสามารถเดินชมและหาซื้อได้ที่ตลาดน้ำแห่งนี้

          ในส่วนของรูปแบบการดำเนินการจะเป็นรูปแบบของคณะกรรมการตลาดน้ำมีชมรมผู้ประกอบการ  ภา

คประชาชน  และหน่วยงานของรัฐร่วมเป็นภาคีบริหาร  โดยเน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ  “ตลาดน้ำคลองแห”  เพื่อสร้างจิตสำนึกในการดูแลรักษาร่วมกัน  สร้างความตระหนักในการเป็นเจ้าบ้านในการต้อนรับผู้มาเยือนพื้นบ้านให้คงอยู่สืบต่อไป๒๑.๐๐ น.

ทุกวันนี้  นอกจากนักท่องเที่ยวในจังหวัดแล้ว  นักท่องเที่ยวจากจังหวัดใกล้เคียง  เช่น  พัทลุง  ปัตตานี  สตูล  ฯลฯ  รวมไปถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ  ก็จะหาโอกาสแวะมาเที่ยวและซื้อหาของกินอร่อย  ที่นี่  เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะระยะไม่ไกลจากหาดใหญ่มากนัก  ถนนหนทางก็สะดวกมีแผ่นป้ายบอกทางเข้า “ตลาดน้ำคลองแห” อย่างเด่นชัด

          สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนบรรยากาศการรับประทานอาหาร  ที่นี่ก็มีบริการล่องเรือชมบรรยากาศสองฝั่งคลองนำไปสู่แหลมโพธิ์  เพื่อรับประทานอาหารทะเล  หรือถ้าไม่ต้องการรับประทานอาหารเพราะอิ่มกร่อย

ไปเรียบร้อยแล้ว  สามารถนั่งเรือชมบรรยากาศเพียงอย่างเดียวก็ได้  สนนราคาค่าโดยสารแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม

               ในอนาคตอันใกล้นี้  ยังมีโครงการพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวเข้ากับ  “ตลาดน้ำคลองแห”  อาทิเช่น  การปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบตลาดน้ำเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ  และพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน  อีกทั้งสามารถให้ผู้สูงอายุได้ใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์กัน  นอกจากนี้ยังมีโครงการสร้างอนุสรณ์สถานตามตำนานประวัติโคกนกคุ่มอีกด้วย  ในส่วนของการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่เข้ากับ  “ตลาดน้ำคลองแห”  นั้น  ในบริเวณใกล้เคียงมีวัดนารังนก  วัดคูเต่า  ซึ่ง

 

เป็นวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยา  และมีจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามสามารถชมหมู่บ้านชาวประมงและศึกษาวัฒนธรรมของพี่น้องมุสลิมโดยเยี่ยมชมมัสยิดกลางจังหวัดสงขลา  โดยมีความตั้งใจที่จะสร้าง  “ตลาดน้ำคลองแห”  ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดสงขลา

          แม้ “ตลาดน้ำคลองแห”  แห่งนี้จะเป็นตลาดที่ก่อตั้งและอยู่ในช่วงพัฒนาตนเองแต่ด้วยความร่วมมือของคนในชุมชน  พ่อค้า  แม่ค้า  ที่พยายามจะดำรงรักษาให้ตลาดแห่งนี้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป โดยการสนับสนุนนโยบายการใช้วัสดุและภาชนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  เช่น  กระบอกไม้ไผ่  ใบตอง  งดใช้ภาชนะโฟมและพลาสติก  อีกทั้งแต่งกายด้วยชุดไทยพื้นบ้านเพื่อสร้างบรรยากาศของวัฒนธรรมไทยตามนิยามของ  “ตลาดน้ำคลองแห”  คือ  “วัฒนศิลป์ถิ่นใต้”  และในช่วงของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเทศบาลเมืองคลองแหได้จัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้การดำเนินการ  “ตลาดน้ำคลองแห”  มีสีสันยิ่งขึ้นโดยการจัดกิจกรรมเช่น  การประกวดอาหารพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ การจัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของเด็กและเยาวชน ทั่งนี้ เพื่อส่งเสริมให้  “ตลาดน้ำคลองแห”  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพพร้อมทุกด้านที่จะรองรับนักท่องเที่ยว  และสามารถดำรงแอยู่ด้วยตนเองได้อย่างเข้มแข็งต่อไปในอนาคต  อีกทั้งเป็นแหล่งสร้างงาน  สร้างรายได้  ให้กับชาวคลองแหแบบมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป

เสน่ห์แห่งตลาดน้ำ ต้นแบบตลาดน้ำภาคใต้ สินค้าเป็นอาหารพื้นบ้านโบราณใช้วัสดุธรรมชาติเป็นภาชนะ เช่น ทับทิมกรอบในผลมะพร้าว และโอ่งดิน ห่อหมกทะเล (งบทะเล) กระบอกไม้ไผ่ ผัดไทยหอยทอด กระทงใบตอง ก๋วยจั๊บพลก (กะลา) เต้าคั่ว ข้าวยำสงขลา ขนมจีนปักษ์ใต้ ขนมจาก ข้าวเกรียบว่าว เม็ดหัวครกผัดน้ำผึ้ง (โดยใช้ใบมะม่วงหิมพานต์ หรือหัวครกเป็นภาชนะรองรับ) ขนมบอก (ใช้แป้งยัดใส่กระบอกไม้ไผ่นึ่งสุกแล้วกระทอกออก) น้ำจรวด (คล้ายน้ำมะเน็ต) ขนมกล้วย ขนมปำ ขนมทราย (ขี้หนู) ขนมไทย ขนมถุงทอง กุยฉ่าย (ไส้เผือก มันแกว หน่อไม้ ก็เรียก กุยฉ่าย) ขนมหวัก ขนมครกไข่ กระเพาะปลาหม้อดิน โรงเรือนตลาดน้ำโบราณมุงด้วยใบจากต้นสาคูที่นำมาเย็บเป็นตับแล้วนำมามุงเป็นหลังคา โดยใช้ชื่อหลาเป็นชื่อเมืองโบราณในปักษ์ใต้ เช่น กลันตัน, ไทรบุรี, พญาตานี, โกตาบารู, ลังกาสุกะ, ศรีวิชัย, ตามพรลิงค์, สมิหลา, รูสมิแล, ตะโกลลา(ตะกั่วป่า), สทิงปุระ หรือใช้ชื่อสถานที่ในสงขลา เช่น บันไดนาง (เป็นควนถนนกาญจนวนิชย์เลยเกาะหมีไปน้ำน้อย)นางงาม (ถนนแถวเก้าห้องหลักเมืองสงขลาซึ่งลูกสาวล้วนประกวดได้ตำแหน่งนางงามกันทั่วหน้า) โตนงาช้าง (น้ำตกสวยของหาดใหญ่) หลาลุงแสง (ศาลาแถววัดอุทัยสงขลา ปัจจุบันรื้อไปแล้ว) โคกเสม็ดชุน (ชื่อชุมชนหาดใหญ่เดิม) มะหาดใหญ่ (มะหาดต้นใหญ่ที่ริมน้ำคลองอู่ตะเภา) ฆ้องแห่ (ชุมชนที่ใช้การภายเรือตีฆ้องร้องป่าวข่าวสารแก่คนในชุมชน)

แสดงความคิดเห็น
ผู้โพสต์
อีเมล
รายละเอียด
สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ใกล้เคียง
ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชคลองแห วัดคลองแห         ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชฯแห่งนี้ เป็นแหล่งเร...
1
3502
เจดีย์มาหาบุญ วัดคลองแห หรือ เจดีย์ชเวดากอง องค์แรกที่สร้างจำลองขึ้นจากเจดีย์ชเวดากอง ณ เมืองย่างกุ้...
1
19126
"วัดอัมพวัน" หนึ่งในวัดเก่าแก่ของเมืองหาดใหญ่ ตั้งอยู่แถวๆ คลองแห วัดที่มีหนูนุ้ยกับลุงเท่งยืนเ...
1
6538
คุ้งน้ำคอวัง บ้านหนองนายขุ้ย         เป็นอีกหนึ่งสถานที่นั่งเล่นพักผ่อนหย่อนใจ ริมน้ำคล...
1
2090
ข้อมูลโรงเรียนเทศบาล ๑ (คลองแหอัจฉริยะ) โรงเรียนเทศบาล ๑ (คลองแหอัจฉริยะ) ตั้งอยู่เลขที่  60 หมู่ที่ 7...
152
สนามกีฬากลางประจำเทศบาลเมืองคลองแห ตั้งอยู่ที่ โรงเรียนเทศบาล 1 (คลองแหอัจฉริยะ) ชุมชนท่าช้าง อ.หาดใหญ่ จ.สงขล...
75
จุดชมวิวแลทุ่งชมควาย             หากได้เดินทางบนถนนลพบุร...
65
“มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา” หรือชื่อเต็ม “มัสยิดกลางดิย์นุลอิสลาม” เป็นศาสนสถานซึ่งเ...
2
65160
จุดชมวิว ทุ่งหญ้าเกาะหมี เป็นสถานที่เช็คอินแห่งใหม่ของชาวหาดใหญ่ อยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองหาดใหญ่ สัมผัสกลิ่นไอ...
86