ในสมัยที่ก่อสร้างพระบรมธาตุ ที่นครศรีธรรมราช เมื่อก่อสร้างเสร็จก็จะมีพิธี บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และมีการเฉลิมฉลอง ได้มีการส่งข่าวไปยังหัวเมือง ต่างๆ เช่นกลันตัน ไทรบุรี ตรังกานูเปอริสก็ได้จัดขบวน
มาร่วมพิธีมหาบุญ บ้างก็ไปทางน้ำใช้เรือ ทางบกใช้ม้า ใช้เกวียนเดินเท้า ฯลฯ
หัวเมืองกลันตันเดินทาง ทางเรือพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทองของมีค่าที่ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเพื่อนำ ไปบรรจุในเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
สิ่งของมีค่าได้บรรจุไว้ในไหบ้าง หีบบ้าง ที่มีค่ามากบรรจุในนกคุ่มเงิน นกคุ่มทอง มีความเชื่อว่านกคุ่มเป็นบ่อเกิดแห่งโชค ลาภและเพื่อพรางตา
จากโจรผู้ร้ายเพราะดูคล้ายเครื่องประดับสวยงามบนเรือ ตลอดทางได้ตีฆ้องร้องเป่าให้ผู้คนได้ร่วมโมทนาบุญ
เมื่อล่องเรือมาถึงทางแยกสำคัญผิดคิดว่าเป็นเส้นทางที่ใกล้ที่สุด
พอล่องเรือมายิ่งไกล คลองยิ่งแคบจึงรู้ว่าหลงทิศผิดทาง จึงหาที่
หยุดพักค้างคืน มาเจอพื้นที่เหมาะเป็นเกาะ แก่งอยู่กลาง มีแม่น้ำ
สามสาย สายหนึ่งมาจากทิศใต้สายหนึ่งมาจากทิศตะวันตก มา
บรรจบ กันเป็นสายน้ำไปทางทิศตะวันออก รุ่งเช้าเตรียมเดินทาง
ต่อ บังเอิญมีขบวนม้าผ่านมาและ ทราบว่าเขากลับจากนครศรี
ฯลฯ พิธีเสร็จสิ้นแล้ว ไม่สามารถนำทรัพย์สมบัติบรรจุในองค์
พระธาตุได้อีก สร้างความเสียอกเสียใจให้กับนักบุญได้มีการ
ประชุมกันเรื่องทรัพย์สมบัติ ว่าจะทำอย่างไร บ้างก็ให้คืนเจ้าของ
บ้างก็ว่าแบ่งกัน เสียงส่วนใหญ่จะไม่นำทรัพย์สินกลับ จึงสมมติที่
ตรงนี้เป็นประหนึ่งเจดีย์และฝังสิ่งของมีค่าทุกอย่างไว้เพื่อถวาย
เป็นพุทธบูชา ในไหเต็มไปด้วยของมีค่า นกคุ่มเงินนกคุ่มทองบรรจุ
แก้วแหวนเงินทอง มีการบูชา พระรัตนตรัย สวดสรรเสริญพุทธ
คุณ ธรรมคุณ สังฆคุณเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธ เจ้าหลังจาก
นั้นมีการชุมนุมเทวดาเพื่อเชิญเทพเทวามาปกปักรักษาสิ่งของมี
ค่าอย่าให้มีใคร นำไปใช้ส่วนตัวเพราะทุกอย่างถวายเป็นของสงฆ์
แล้ว
คุณยายคนหนึ่งหยิบผ้าม้วนทูนขึ้นมาอธิษฐานและจิตเพ่งไปที่ผ้า
ทูนประหนึ่งจะให้ผ้า ม้วนทูนปิดปากไหเพื่อป้องกันสิ่งของที่อยู่ในไห
มีชายคนหนึ่งนำข้าวสารมาเสกแล้วหว่าน ไปรอบๆ หลุม มีผู้คงแก่
เรียนคนหนึ่งเสกน้ำมนต์แล้วประพรมไปรอบๆ หลังจากฝังสิ่งของ
ทั้งหมดก็กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ร่วมปกปักรักษาทรัพย์ เช่น
ทวดขุนพิทักษ์ ณ เชียงใหม่ ทวดชี ทวดดำ ทวดโจรหลังจากนั้นได้นำ
ฆ้องที่ชี้เป็น สัญญาณบอกบุญ มาอธิษฐานเป็นพุทธบูชาแล้วก็จม
ฆ้องลงในแม่น้ำนั้น ชาวบ้านจึงเรียก ชื่อตรงนั้นว่า "คลองฆ้องแห่"
บริเวณที่ฝังนกคุ่มเงิน นกคุ่มทอง ด้านบนมีสุมทุมพุ่มไม้ ปกคลุม
หนาแน่น คล้ายนกคุ่มชาวบ้านจึงว่า "โคกนกคุ่ม" ต่อมาข่าวการฝัง
ทรัพย์สมบัติ ได้ทราบไปถึงฝรั่งนักล่าสมบัติ โดยใช้ลายแทงในการสืบ
ค้น เมื่อมาถึงบริเวณที่บ่งบอกก็ ลงมือขุดพอขุดได้พักหนึ่งก็เจอมด
คันตัวใหญ่ออกมาเต็มไปหมดไม่สามารถขุดต่อได้ จึงให้หมอมาทำพิธี
มดที่เห็นกลับกลายเป็นข้าวสาร เมื่อขุดต่อก็เจองูม้วนตัวอยู่ที่ปากไห
เมื่อหมอมาแก้งูกลายเป็นผ้าม้วนทูน ชาวบ้านเรียกผ้าม้วนทูนยาย
หลังจากนั้นทำการขุด ต่ออีกปรากฏว่าฟ้ามืด ลมกระโชกแรงเกิดฝน
ห่าแก้วตกลงใส่พวกฝรั่งทำให้เกิดการเจ็บ ปวดน้ำฝนได้ชะเอาดินที่ขุด
ขึ้นมาไหลกลับไปในหลุมตามเดิม หมอพยายามแก้ฝนห่าแล้วแต่ ไม่
สำเร็จจึงล้มเลิกการขุดและกลับไป
ต่อมา พ.ศ. 2260 มีการสร้างวัดบริเวณใกล้กับสถานที่ฝังทรัพย์สมบัติ คือบริเวณแม่น้ำ ที่มาจากทิศใต้ (คลองเตย) มาประจบกับแม่น้ำที่
มาจากทิศตะวันตก (คลองลาน) ไปทิศ ตะวันออก (คลองแห) หลังจากที่ชาวบ้านอาศัยอยู่กันเป็นจำนวนมาก ทางอำเภอให้มีการ สำรวจ
เพื่อให้ตั้งชื่อหมู่บ้าน โดยผู้ที่มาสำรวจมาจากเมืองกรุงพูดภาษากลาง เมื่อสอบถาม ชาวบ้านๆ พูดสำเนียงปักใต้ว่า "คลองฆ้องแห่" จึงเขียน
ตามคำพูดว่า "คลองฆ้องแห"นาน วันเข้าคนใต้พูดเร็ว ทำให้เสียงคลองกับฆ้อง กล้ำกัน เมื่อพูดเร็วจะได้ยินว่า "คลองแห" ต่อมามีการตั้งชื่อ
ว่าหมู่บ้าน คลองแห มาจนปัจจุบัน
เทศบาลเมืองคลองแห ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์
ในการพัฒนาเพื่อเป็นแนวทางหลักในการดำเนินงานพัฒนาเทศบาลเมือง
คลองแหให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ดังนี้
พันธกิจ
1. พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
2. พัฒนาด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
3. พัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและรักษาความสงบเรียบร้อย
4. พัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมการท่องเที่ยว
5. พัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การกีฬา และนันทนาการ
6. พัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
7. พัฒนาด้านการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
8. พัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 2
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 3
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคมและการรักษา
ความสงบเรียบร้อย
ยุทธศาสตร์ที่ 4
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานรากและส่งเสริมการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 5
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิ
ปัญญา ท้องถิ่น การกีฬาและนันทนาการ
ยุทธศาสตร์ที่ 6
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนา
สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 7
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 8
ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลยุทธ์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและ
สาธารณูปโภค
กลยุทธ์
1.1 ก่อสร้าง/ปรับปรุงถนนให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
1.2 ยกระดับและพัฒนามาตรฐานด้านสาธารณูปโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต
กลยุทธ์
2.1 การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ
2.2 การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง
2.3 การส่งเสริมสนับสนุนงานสังคมสงเคราะห์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดระเบียบชุมชน/สังคม
และการรักษาความ สงบเรียบร้อย
กลยุทธ์
3.1 ส่งเสริมระบบการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจฐานรากและส่ง
เสริมการท่องเที่ยว
กลยุทธ์
4.1 ส่งเสริมสนับสนุนยกระดับอาชีพของผู้ประกอบการและประชาชน
4.2 ส่งเสริมการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
ประเพณี ภูมิปัญญา ท้องถิ่น การกีฬาและนันทนาการ
กลยุทธ์
5.1 ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพด้านการกีฬาและดนตรี
5.2 ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์
6.1 พัฒนาระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 รณรงค์ สร้างจิตสำนึก ความรับผิดชอบ
ยุทธศาสตร์ที่ 7 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์
7.1 ส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารกิจการบ้าน
เมืองที่ดี
7.2 เพิ่มประสิทธิภาพในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ยุทธศาสตร์ที่ 8 ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
กลยุทธ์
8.1 ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย
จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของเทศบาลเมืองคลองแห
การกำหนดตำแหน่งจุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ของเทศบาลเมืองคลองแห จะมีความสอดคล้องของประเด็นความเชื่อมโยง
ยุทธศาสตร์ที่สำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ.2561-2580 ยุทธศาสตร์
การพัฒนาจังหวัด พ.ศ.2561-2565 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสงขลา (พ.ศ.2566 - 2570)ยุทธศาสตร์
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะเห็นได้ว่ามีความเชื่อมโยงกันค่อนข้างชัดเจนในการนำมาเป็นแนวทางกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของ
เทศบาลเมืองคลองแห ซึ่งการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนจะเป็นการเตรียมการพัฒนา เพื่อเตรียมความพร้อมคน สังคม และระบบ
เศรษฐกิจของชุมชนให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม และภายใต้สถานการณ์ความเสี่ยงซึ่งเกิดขึ้น
จากการเปลี่ยนแปลงในจังหวัดและภายในประเทศ โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับประเทศ และระดับโลกมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และ
ส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อท้องถิ่น ดังนั้น ทิศทางการบริหารจัดการ จึงมุ่งเน้นภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง
ดังกล่าว จึงเป็นการใช้จุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
การพัฒนาด้านการศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ เพื่อเป็นฐานรากในการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพ การเตรียมความพร้อม
ด้านโครงสร้างพื้นฐานมีถนนที่สามารถสัญจรได้สะดวกและเชื่อมต่อกันได้ทุกพื้นที่ และต้องก้าวไปพร้อมกับการยกระดับคุณภาพชีวิต การเสริมสร้าง
องค์ความรู้ การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาของเทศบาลเมืองคลองแห
นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการองค์กร เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้ความสำคัญกับการพัฒนาการบริหารราชการ เพื่อ
ให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนและเป็นไปตามหลักการ
บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีรวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการบริหารงานขององค์กร ควบคู่กับการปลูกจิต
สำนึกค่านิยมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพอย่างยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “เมืองน่าอยู่ เศรษฐกิจฐานรากมั่นคง ดำรงซึ่ง
พหุวัฒนธรรม พัฒนาสู่เมืองเทคโนโลยีอัจฉริยะ”
ตราประจำเทศบาลเมืองคลองแห เป็นรูปวงกลมพื้นเหลือง ด้านบนเขียนคำว่าเทศบาลเมืองคลองแห ด้านล่าง
เขียนคำว่าอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาภายในวงกลมประกอบด้วย
|
ฆ้องชัย
หมายถึง ความรุ่งเรือง ความมีชื่อเสียง ชัยชนะ ต่อความชั่วร้าย ความอยุติธรรม
|
|
เสาค้ำ
หมายถึง หลักธรรมทั้งสอง ได้แก่ ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม ที่ร่วมกล่อมเกราจิตใจของประชาชนชาวคลองแห
|
|
คานแขวน
หมายถึง เกรียติยศ ศักดิ์ศรี ที่ชาวคลองแหต้องแบกรักษาไว้ยิ่งชีพ
|
|
ลำน้ำ
หมายถึง คลองอู่ตะเภา และคลองแห ที่เป็นลำน้ำมาหล่อเลี้ยงชีวิตของชาวคลองแห
|